ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รายได้แบบPassiveIncomeที่ดีที่สุด

รายได้ 6 รูปแบบ คุณอยู่ในรูปแบบใหน?


วันนี้จะพา มารู้จักกับ รายได้ บนโลกนี้ทั้ง 6 รูปแบบ ซึ่งก็ต้องเกริ่นไว้ตรงนี้ก่อนเลยว่า ไม่ได้ดูถูกหรือบอกว่ารายได้แบบใหนไม่ดี เพราะผมเชื่อว่า อะไรก็ตามที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนย่อมดีอยู่แล้วเพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นถึงความแตกต่าง ของรายได้แต่ละเเบบ เราไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง



1.รายได้แบบรับครั้งเดียว

- รายได้แบบนี้ไม่แน่นอน รับรายได้เป็นครั้งๆ จะมีรายได้ก็ต่อเมื่อได้งานทำ ถ้าทำงานได้มาก ก็มีรายได้มาก ทำงานได้น้อย ก็มีรายได้น้อย ถ้าหยุดทำงาน เช่น ป่วย ทำไม่ไหว หรือแม้แต่ถูกออกจากงาน ก็ไม่มีรายได้ รวมถึงการเสียชีวิต ทุกอย่างก็จบตามกันไปตัวอย่างอาชีพนี้เช่น การับจ้างทั่วไป รับเหมาต่างๆ


2.รายได้แบบขั้นบันได

- รายได้แบบนี้ทำงานทั้งปี ได้เท่าเดิม แต่อาจจะมีการปรับเงินเดือนเพิ่มให้ เช่นปีละ5% หรืออาจจะมากน้อยกว่านั้น ซึ่งยุคนี้น้อยมากที่จะปรับขึ้นเยอะๆ แค่มีงานทำก็ดีใจแล้ว ลักษณะงานแบบนี้ได้แก่ การเป็นลูกจ้างบริษัท รวมทั้ง รับราชการ หรืออะไรที่มีเงินเดือนนั่นเอง
งานแบบนี้ ถ้าไม่ลาออก ก็รอเงินเกษียณ ถ้าหากเกิดเสียชีวิต ตำแหน่งงานต่างๆรวมถึงรายได้ก็จะมีคนอื่นมารับแทนเรา ไม่สามารถยกให้ทายาทเราได้


3.รายได้แบบถดถอย
- รายได้แบบนี้ จะเป็นรายได้ที่น้อยลงไปเรื่อยๆ เช่น อาชีพศิลปิน นักร้อง นักแสดง ดารา เพราะถึงแม้ทำงานมานาน มีประสบการณ์สูงขึ้น แต่เมื่อค่านิยมเสื่อมลง ทำให้รายได้ลดลงเรื่อยๆนั่นเอง

4.รายได้แบบขึ้นลงตามสภาวะการณ์

- รายได้แบบนี้ไม่แน่นอน เช่น การทำธุรกิจ ต้องมีการลงทุนสูง มีความเสี่ยง คู่แข่งก็เยอะ ต้องมีทุนหมุนเวียนที่มากพอ ทำเลค้าขายต้องดี ต้องดูแลเรื่องลูกน้อง เรื่องเงิน เปิดปิดร้าน การยักยอกต่างๆ หากเศรษฐกิจไม่ดีก้ต้องปิดตัวลง บางทีกู้เงินมา อาจจะทำให้เป็นหนี้ได้อีกด้วย

5.รายได้แบบพหุคูณ



- รายได้แบบนี้เริ่มจากน้อย แล้วค่อยๆมากขึ้นๆ ช่วงแรกๆอาจจะต้องยอมทำงานอย่างหนัก แต่แลกมากับรายได้อันน้อยนิด แต่จะเริ่มมีรายได้มากขึ้นเมื่อธุรกิจเริ่มขยายตัว ที่สำคัญ ไม่มีเพดานรายได้
ไม่ต้องจ้างพนักงาน ไม่ต้องนั่งเฝ้าร้าน เมื่อสร้างธุรกิจเสร็จแล้วสามารถหยุดพักได้โดยที่รายได้ไม่หยุดตาม สามารถโอนต่อให้ทายาทได้ เมื่อเสียชีวิตแล้วทายาทสามารถมารับรายได้ต่อ ซึ่งธุรกิจแบบนี้ได้แก่ ธุรกิจเครือข่ายที่ถูกกฎหมาย


6.รายได้แบบใช้เงินทุนน้อยที่สุดแต่รับรายได้ตลอดไป




- รายได้แบบนี้ เป็นรายได้ที่เป็นเคล็ดลับเฉพาะ หลักสูตร : 5วิธีหาเงินล้าน(โดยใช้เงินทุนน้อยที่สุด) เพราะมุ่งเน้นไปที่ “การสร้าง Passive Income 100% โดยใช้เงินทุนน้อยที่สุด(หรือแทบจะไม่ได้ใช้เลยด้วยซ้ำ)” มันเป็นรายได้ที่เกิดจากการสร้างสิ่งๆหนึ่งขึ้นมา คือ “เครื่องจักรปั๊มเงินล้าน24ชั่วโมง” แน่นอนว่า เครื่องจักรปั๊มเงินนี้ มันจะทำงานปั๊มเงินแทนเราตลอด24ชั่วโมง ไม่ว่าเราจะ กิน เล่น เที่ยว นอน นั่ง เดิน ทำบุญ ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ฯลฯ เครื่องจักรนี้ ก็ปั๊มเงินแทนเรา24ชั่วโมง

ถ้าหากสังเกตุดีๆ ท่านอาจจะมองเห็นว่า ทำไมมันเหมือนรูปแบบที่5 คือ รายได้แบบหลายชั้น(พหุคูณ) นั่นเป็นเพราะ มันใช้หลักการคล้ายๆกันคือ พลังทวีคูณ และ พลังของคานผ่อนแรง แต่มีข้อแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตรงที่ “ถ้าเป็นรายได้แบบหลายชั้น(พหุคูณ) จะเป็นในรูปแบบธุรกิจเครือข่าย MLM” ซึ่งจำเป็นที่จะต้อง ออกไปง้อ ขอ ตื้อ ให้ผู้คนมาร่วมทีม ถึงจะเกิดการทวีคูณของรายได้ โดยมีแผนการตลาดของแต่ละบริษัทเป็นตัวกำหนดรายได้ ซึ่งแน่นอน บางทีก็อาจจะดูเหมือนการถูกเอาเปรียบโดยบริษัทเครือข่าย ที่เขียนแผนการจ่ายเงินแบบกำกวมบ้าง บอกไม่หมดบ้าง ซึ่งแน่นอนว่า หลายๆคนอาจจะไม่ชอบรูปแบบการทำธุรกิจเครือข่าย ที่คนสำเร็จแค่ 5% ซึ่งมีน้อยกว่า คนที่ล้มเหลวมากถึง 95%

ในขณะที่ รูปแบบรายได้ แบบ 5วิธีหาเงินล้าน(โดยใช้เงินทุนน้อยที่สุดนี้)มีข้อดี มากถึง 5 ข้อหลักๆ
ซึ่งรายละเอียดคร่าวๆ ไปดูรูปประกอบกันเลยว่า มีอะไรยังไงบ้าง





ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดย Add Line ID  ==>> richhappily

หรือ เข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.coursetorich.com

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

(8)การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์


การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
ท่านควรปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบของท่านถูกไวรัสคอมพิวเตอร์คุกคาม (ข้อควรปฏิบัติ 2 ประการแรก เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด)
1. ติดตั้งโปรแกรม Anti-virus บนระบบของท่าน และ
- ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัสของโปรแกรมอยู่เสมอ (เลือกใช้งาน feature การ update ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติของโปรแกรม ถ้ามี)
- เรียกใช้งานโปรแกรมเพื่อตรวจสอบหาไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นหรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
- เรียกใช้งานโปรแกรมเพื่อตรวจสอบหาไวรัส อย่างละเอียด บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน อย่างสม่ำเสมอ เช่น 1 ครั้งต่อสัปดาห์
หมายเหตุ: หากท่านไม่ต้องการที่จะเสียเงินซื้อซอฟต์แวร์ Anti-virus อย่างน้อยท่านควรจัดหาซอฟต์แวร์ Anti-virus ที่เป็น Freeware มาติดตั้งและใช้งาน ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ฟรีดังกล่าว ได้แก่ Avast Anti-Virus Free Home-Edition ( http://www.avast.com/) และ AVG Anti-Virus Free Edition ( http://free.grisoft.com/)
2. ตรวจสอบและอุดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งท่านสามารถทำได้โดยการ browse ไปที่ http://windowsupdate.microsoft.com/และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้บนเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อทำการตรวจสอบและแก้ไขช่องโหว่ที่ critical ของระบบ
3. ปรับแต่งการทำงานของระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์บนระบบให้มีความปลอดภัยสูง เช่น
- ปรับแต่งไม่ให้โปรแกรมที่ใช้อ่านอี-เมล์เช่น Microsoft Outlook ทำการเปิดไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ (attachment) อย่างอัตโนมัติ
- ปรับ Security Zone ของ Microsoft Internet Explorer ให้เป็น High Security โดยปรับแต่งที่ Internet Option ของโปรแกรม Internet Explorer
- ไม่ควรอนุญาตให้โปรแกรม Microsoft Office เรียกใช้งาน Macro
- เปิดใช้งานระบบ Firewall ที่ built-in อยู่บนระบบปฏิบัติการ MS Windows XP
- งดใช้ Feature การ share ไฟล์ผ่านเครือข่าย หากไม่มีความจำเป็น
4. ใช้ความระมัดระวังในการเปิดอ่านอี-เมล์ และการเปิดไฟล์จากสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ
- หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ จนกว่าจะรู้แหล่งที่มา
- หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์ที่มีหัวเรื่องที่เป็นข้อความจูงใจเช่น ภาพเด็ด รหัสผ่าน คุณถูกรางวัล เป็นต้น
- ตรวจสอบหาไวรัสบนสื่อบันทึกข้อมูล ทุกครั้งก่อนเรียกใช้งานไฟล์บนสื่อนั้นๆ
- ไม่ควรเปิดไฟล์ที่มีนามสกุลแปลกๆ เช่น .pif รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุลซ้อนกันเช่น .jpg.exe, .gif.scr, .txt.exe เป็นต้น
- ไม่ใช้สื่อบันทึกข้อมูล ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา และหลีกเลี่ยงการใช่สื่อบันทึกข้อมูลร่วมกับบุคคลและระบบอื่นๆ
- ถือคติพจน์ว่า "ไม่ใช้แผ่นมั่ว ไม่ชัวร์อย่าเปิด"
5. สำรอง ข้อมูลที่สำคัญบนระบบอยู่เสมอ ข้อนี้ไม่ได้เป็นการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์แต่เป็นข้อควรปฏิบัติที่ท่านควร ทำ เพราะไม่มีระบบใดที่ปลอดภัย 100 % วันดีคืนดี ระบบคอมพิวเตอร์ของท่านอาจเกิดการล่มและไม่สามารถกู้คืนมาได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลากหลาย เช่น อุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลเกิดการชำรุด หรือระบบอาจถูกไวรัสที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อนคุกคามร้ายแรง เป็นต้น


เรียบเรียงโดย : ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม
ที่มา:www.thaicert.or.th

(7)ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาคุกคามระบบได้อย่างไร?


ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาคุกคามระบบได้อย่างไร
โดยปกติแล้วไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าคุมคามระบบได้เนื่องจากสาเหตุหลักๆ 3 ประการ คือ

1) มีการเรียกใช้งานไฟล์ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่
ใน ส่วนของสาเหตุจากการที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกใช้งานไฟล์ที่มีไวรัส คอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่แล้วทำให้ระบบถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาคุกคามได้นั้น เป็นสาเหตุซึ่ง เป็นที่รู้จักกันดี นอกจากการฝังตัวอยู่กับไฟล์ของผู้ใช้งานซึ่งเป็นรูปแบบของไวรัสคอมพิวเตอร์ แบบยุคต้นๆ แล้วนั้น ในปัจจุบันไวรัสคอมพิวเตอร์มักจะใช้หลักจิตวิทยาที่เรียกว่า Social Engineering เพื่อทำการล่อลวงให้ผู้ใช้งานเรียกเปิดไฟล์ที่เป็นไวรัส เช่น แฝงมาในรูปแบบของโปรแกรมการ์ดอวยพร หรือ โปรแกรม screen saver หรือ แฝงอยู่ในไฟล์ที่ได้รับมาจากบุคคลที่ผู้ใช้รู้จัก ซึ่งผู้ใช้อาจจะได้รับมาทางอี-เมล์ที่มีการปลอมแปลงว่ามาจากบุคคลที่ผู้ใช้ รู้จัก หรือไวรัสอาจแฝงอยู่ในรูปแบบของ link ในอี-เมล์หรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่หลอกลวงให้ผู้ใช้ click เพื่อเรียกใช้งาน เป็นต้น

2) ระบบที่ไม่มีการใช้งานโปรแกรม Anti-Virus หรือมีการใช้งานโปรแกรม Anti-Virus แต่ไม่ได้ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัส
สำหรับสาเหตุหลักอีกสาเหตุหนึ่งของการที่ระบบถูกไวรัสคอมพิวเตอร์คุกคามคือการที่ระบบไม่มีการใช้งานโปรแกรม Anti-Virus หรือมีการใช้งานโปรแกรม Anti-Virus แต่ไม่ได้ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซอฟต์แวร์ Anti-Virus ส่วนใหญ่จะสามารถต่อต้านการคุกคามจากไวรัสคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมรู้จักซึ่งจะได้รับการจัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Definition Database) ซึ่งจำเป็นต้องมีการ Update ฐาน ข้อมูลดังกล่าวนี้ให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้โปรแกรมรู้จักและสามารถต่อต้าน ไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ๆ ได้ บางท่านอาจมีความเชื่อที่ผิดๆ ว่าหากมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ Anti-virus บนระบบแล้ว ไวรัสคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเข้ามาคุกคามระบบได้ ในความเป็นจริงแล้วถึงแม้ระบบจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ดังกล่าวอยู่ แต่หากไม่มีการ update ฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอ หรือ ไม่มีการใช้งานซอฟต์แวร์ Anti-virus เพื่อ ตรวจสอบโดยละเอียดว่าระบบปราศจากไวรัสคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอแล้วนั้น ไวรัสคอมพิวเตอร์ก็ยังอาจสามารถเข้ามาคุกคามระบบได้ ยิ่งไปกว่านั้นถึงแม้ซอฟต์แวร์ Anti-virus จะได้รับการติดตั้งและใช้งานอย่างเหมาะสมทุกประการ แต่ระบบก็ยังอาจมีความเสี่ยงต่อการถูกคุมคามอยู่หากระบบมีช่องโหว่ (Vulnerbilities) ซึ่งจะกล่าวถึงในช่วงต่อไป

3) ระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่บนระบบมีช่องโหว่ (Vulnerbilities) พร้อมทั้งระบบมีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย
            สำหรับ สาเหตุในส่วนของการที่ระบบมีช่องโหว่นั้นยังไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจและตระหนัก ถึงกันอย่างถ่องแท้มากนัก ในความเป็นจริง ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่บนระบบมักจะมีช่องโหว่อยู่ทั้งสิ้น ซึ่งมักจะมีผู้ค้นพบช่องโหว่ใหม่ๆ ของระบบอยู่เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ช่องโหว่ (vulnerbilities) มีความหมายคล้ายๆ กับ จุดบกพร่อง (Bugs) ของ ระบบ โดยรวมๆ ช่องโหว่หมายถึง การที่ระบบมีช่องทางให้ผู้โจมตีสามารถเข้ามาครอบครอง ควบคุมการทำงาน นำไวรัสคอมพิวเตอร์มาเรียกใช้งาน หรือ ทำการบางอย่างบนระบบได้ ในกรณีที่ท่านใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ท่านสามารถตรวจสอบว่าระบบของท่านมีช่องโหว่อะไรบ้างได้โดยการเรียกใช้งาน Windows Update หรือ browse ไปที่ http://windowsupdate.microsoft.com/ท่าน อาจพบว่าระบบของท่านมีช่องโหว่ที่ร้ายแรงมากมาย ซึ่งช่องโหว่เหล่านี้เป็นช่องทางให้ไวรัสคอมพิวเตอร์หรือผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถเข้ามาในระบบของท่านผ่านเครือข่ายได้ การที่ระบบมีช่องโหว่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกได้ว่า "อยู่ดีๆ ก็ติดไวรัส" นั่นเอง นอกจากนี้การใช้งานระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ในบางลักษณะก็ทำให้เกิดช่อง โหว่ได้ เช่น การให้โปรแกรมเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมาโดยอัตโนมัติ การอนุญาตให้บุคคลอื่นนำไฟล์มาติดตั้งบนระบบได้ (Full-Right File Sharing) เป็นต้น

การแก้ไขระบบที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์
การ แก้ไขระบบที่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์คุกคามนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับไวรัสที่ เข้ามาคุกคามระบบ ดังนั้นก่อนอื่นท่านจะต้องทราบก่อนว่าไวรัสอะไรเข้ามาอยู่บนระบบของท่าน ส่วนใหญ่ระบบที่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์คุกคามคือระบบที่ไม่มีการใช้งานโปรแกรม Anti-virus หรือมีการใช้งานโปรแกรม Anti-virus แต่ไม่ได้ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัส ดังนั้นการจะทราบถึงว่าไวรัสอะไรอยู่ในระบบได้นั้น ท่านสามารถเลือกใช้วิธีการต่อไปนี้
- นำเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่มีซอฟต์แวร์ Anti-virus ติดตั้งอยู่และได้รับการ update ฐาน ข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยและผ่านการตรวจสอบแล้วว่าระบบปราศจากไวรัส คอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการตรวจสอบว่าระบบของท่านถูกไวรัสอะไรคุกคาม (สำหรับ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบไวรัสโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ อื่นด้วยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องผ่านเครือข่าย (หรือการต่อสาย Cross) สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ เช่น ThaiCERT ฯ)
- ใช้บริการระบบตรวจหาไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บ (ฟรี) เช่นที่ http://housecall.trendmicro.com/housecall/หรือ http://www.pandasoftware.com/products/activescan/เป็น ต้น จุดอ่อนของวิธีนี้คือการตรวจสอบอาจทำได้ไม่เร็วนักเนื่องจากความล่าช้าของ เครือข่าย นอกจากนั้นระบบเหล่านี้อาจไม่ทำงานบนระบบของท่านที่มีซอฟต์แวร์ Anti-virus ยี่ห้ออื่นติดตั้งอยู่ และยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสบางชนิดทำให้ระบบของท่านไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้เลย
บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมไม่ใช้วิธีติดตั้งซอฟต์แวร์ Anti-virus และ/หรือ update ฐาน ข้อมูลไวรัส และเรียกใช้งานโปรแกรมดังกล่าว เพื่อทำการตรวจหาไวรัสบนระบบของท่าน จุดอ่อนของวิธีนี้คือเมื่อระบบของท่านถูกไวรัสคุกคาม ไวรัสอาจทำการปิดกั้นหรือขัดขวางระบบทำให้ท่านไม่สามารถติดตั้งหรือเรียกใช้ งานซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้ หรืออาจทำให้ซอฟต์แวร์ Anti-virus ทำงานขัดข้องหรือบกพร่องได้
เมื่อทราบว่าระบบติดไวรัสชนิดใดแล้ว ให้ทำการจัดหาโปรแกรมสำหรับกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวนั้นๆ (Fix Tool) มาใช้กำจัดไวรัสบนระบบของท่าน ซึ่งท่านสามารถ download โปรแกรม Fix Tool เหล่านี้มาใช้งานได้ฟรีจากเว็บไซต์ต่างๆ เช่น http://securityresponse.symantec.com/avcenter/tools.list.htmlหรือ http://www.pandasoftware.com/download/utilities/เป็นต้น ท่านอาจจะต้องทำให้ระบบปฏิบัติการของท่านทำงานใน Safe Mode (ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ) เพื่อที่จะให้โปรแกรม Fix Tool เหล่านี้ทำงานได้อย่างมีความถูกต้องสูงสุด
เมื่อกำจัดไวรัสบนระบบของท่านหมดแล้ว ให้ทำการตรวจสอบว่าระบบปฏิบัติการของท่านมีช่องโหว่ที่ critical อยู่หรือไม่ ถ้ามี ให้ทำการแก้ไข ซึ่งการตรวจสอบและแก้ไข โดยปกติทำได้โดยการ browse ไปที่ http://windowsupdate.microsoft.com/เมื่อแก้ไขช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการเสร็จแล้ว ให้ทำการติดตั้งโปรแกรม Anti-virus และ/หรือ update ฐาน ข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยที่สุด และเรียกใช้งานโปรแกรมดังกล่าวเพื่อทำการตรวจสอบระบบของท่านโดยละเอียดอีก ครั้งหนึ่งว่าปราศจากไวรัสคอมพิวเตอร์แล้ว
โดยสรุปแล้ว ขั้นตอนคร่าวๆ ในการแก้ไขระบบที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ
1. ตรวจ สอบว่าระบบติดไวรัสอะไร โดยการใช้โปรแกรมสำหรับตรวจสอบไวรัสซึ่งอาจทำได้โดยการอาศัยเครื่อง คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งเข้ามาต่อพ่วงเพื่อช่วยในการตรวจสอบ หรืออาศัยระบบการตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บ (Web-based virus scan engine)
2. Download โปรแกรมสำหรับแก้ไขไวรัสที่ตรวจพบมาใช้กำจัดไวรัส
3. อุดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ
4. Update ฐานข้อมูลไวรัสของโปรแกรม Anti-virus แล้วใช้โปรแกรมทำการตรวจหาไวรัสบนระบบอีกครั้ง












(6)สาระน่ารู้ เกี่ยวกับการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

สาระน่ารู้ เกี่ยวกับการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ 

ไวรัส คอมพิวเตอร์เป็นปัญหาที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เกือบทุกคนเคยประสบมาแล้วทั้ง สิ้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าท่านจะเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกไวรัส คอมพิวเตอร์คุกคามระบบมาแล้ว แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าในความจริงแล้วไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้ามาคุกคามระบบของท่านได้อย่างไร วิธีแก้ไขระบบที่ถูกคุกคามเป็นอย่างไร และที่สำคัญคือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ระบบของท่านปลอดภัยจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Computer Security จากหน่วยงาน ThaiCERT ( http://www.thaicert.nectec.or.th ) ซึ่ง มีภารกิจหลักประการหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้และแจ้งเตือนภัยจากไวรัส คอมพิวเตอร์ ผู้แต่งขอนำเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์เบื้องต้นอย่าง พอเป็นสังเขป เพื่อให้ท่านสามารถป้องกันระบบจากการถูกไวรัสคอมพิวเตอร์คุกคามได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ใน อดีต คำว่า "ไวรัสคอมพิวเตอร์" เป็นนิยามของโปรแกรมที่สร้างปัญหาและก่อให้เกิดความเสียหายต่างๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถแพร่กระจายตัวเองจากไฟล์หนึ่งไปยังไฟล์อื่นๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถแพร่กระจายข้ามเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการที่ไวรัสคอมพิวเตอร์สามารถแพร่กระจายข้ามเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นั้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ใช้นำไฟล์ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ไปใช้บนเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น นำแผ่น diskette หรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่มีไฟล์ของไวรัสคอมพิวเตอร์ฝังตัวอยู่มาใช้งาน เป็นต้น
อย่าง ไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปไวรัสคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนารูปแบบ เทคนิคการแพร่กระจาย ความสามารถ รวมทั้งความรุนแรงในการก่อความเสียหายให้ระบบ ที่แตกต่างไปจากเดิมมาก ดังนั้น ปัจจุบันคำว่า "ไวรัสคอมพิวเตอร์" จึงมีความหมายที่กว้างขึ้นไปจากเดิมและมีการบัญญัติคำศัพท์ขึ้นมาใหม่ว่า "มาลแวร์ (Malware: Malicious Software)" ซึ่ง หมายถึงชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ ที่ได้รับการจัดทำขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอาจมีความสามารถในการเคลื่อนที่จากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้ด้วยตัวเอง
นั่น คือ ปัจจุบัน "ไวรัสคอมพิวเตอร์" ถูกนำมาใช้ในความหมายของ "มาลแวร์" กันอย่างกว้างขวาง (ในบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน) ซึ่งนอกจากจะหมายถึงไวรัสคอมพิวเตอร์ในรูปแบบก่อนๆ แล้วนั้น ยังรวมไปถึง (หรืออาจประกอบมาจากส่วนประกอบที่กล่าวถึงข้างล่างนี้)
- หนอนอินเทอร์เน็ต (Internet Worm) ซึ่ง หมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อี-เมล์ หรือ การแชร์ไฟล์ ทำให้การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง
- โทรจัน (Trojan) ซึ่ง หมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้แฝงเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อื่นใน หลากหลายรูปแบบ เช่น โปรแกรม หรือ การ์ดอวยพร เป็นต้น เพื่อดักจับ ติดตาม หรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกคุกคาม
- โค้ด Exploit ซึ่ง หมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถเจาะระบบโดยอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติ การหรือแอพพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนระบบ เพื่อให้ไวรัสหรือผู้บุกรุกสามารถครอบครอง ควบคุม หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดบนระบบได้
- ข่าวไวรัสหลอกลวง (Hoax) ซึ่ง มักจะอยู่ในรูปแบบของการส่งข้อความต่อๆ กันไป เหมือนกับการส่งจดหมายลูกโซ่ โดยข้อความประเภทนี้จะใช้หลักจิตวิทยา ทำให้ข่าวสารนั้นน่าเชื่อถือ ถ้าผู้ที่ได้รับข้อความปฏิบัติตามอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบ คอมพิวเตอร์ เช่น การให้ลบไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการโดยหลอกว่าเป็นไวรัส คอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบปฏิบัติการทำงานผิดปกติ เป็นต้น
หมายเหตุ: เมื่อกล่าวถึง hoax จึงขอนำเสนอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะของ hoax อีก รูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช่ไวรัสคอมพิวเตอร์ แต่เป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่พบเห็นได้มากขึ้น เรื่อยๆ ในปัจจุบัน นั่นคือ "Phishing" ซึ่งเป็นการปลอมแปลงอี-เมล์ (E-mail Spoofing) และทำการสร้างเว็บไซต์ปลอมที่มีเนื้อหาเหมือนกับเว็บไซต์ของจริงและมี Address ใกล้ เคียงกับเว็บไซต์จริง เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอี-เมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ อาทิ ข้อมูลของหมายเลขบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password) หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ



























(5)วิธีดูแลฮาร์ดดิสก์อย่างง่ายๆ

วิธีดูแลฮาร์ดดิสก์อย่างง่าย
วิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์อย่างง่าย
        โดยปกติพื้นในฮาร์ดดิสก์ ของเราถูกใช้ในการจัดเก็บไฟล์ไว้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( Windows) ไฟล์โปรแกรมทำงาน (เช่น โปรแกรม MS-Word MS-Exel) ไฟล์เกมส์ ไฟล์งาน (เช่น รูปภาพ ไฟล์เอกสาร Word หรือ Exel) ไฟล์เพลง mp3 ฯลฯ ซึ่งไฟล์เหล่านี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฮาร์ดดิสของเรา ยิ่งเราติดตั้งโปรแกรมลงไปในคอมพิวเตอร์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งเสียพื้นในฮาร์ดดิสก์ไปเรื่อยๆ อันนี้ยังไม่นับไฟล์งาน ไฟล์รูปภาพและไฟล์เพลง ต่างๆ ที่ได้บอกไปแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสในเครื่องของเราได้ด้วยวิธีการ ดังนี้
        1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer
        2. คลิกเมาส์ขวาที่ไดรฟ์ C: หรือ D: ( เป็นไดรฟ์ของฮาร์ดดิสที่ใช้เก็บข้อมูล ) แล้วคลิก
( ซ้าย ) ที่เมนู Propreties
3. สีน้ำเงินคือพื้นที่ที่ถูกใช้ไป ส่วนสีชมพูคือพื้นที่ที่ว่างอยู่ หลักการมีอยู่ว่า จำเป็นต้องเหลือพื้นที่สีชมพูไว้อย่างน้อย 10 % ของฮาร์ดดิสก์ ไม่งั้นเครื่องจะทำงานช้าลง ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลบไฟล์หรือ โปรแกรมออกจากเครื่องไปบ้าง แต่ก่อนที่จะลบข้อมูลดังกล่าว ขอแนะนำให้ลบ “ ไฟล์ขยะ ” (Temp files)อกไปก่อน และวิธีการดูแลฮาร์ดดิสก์ ขั้นต้น แนะนำตามวิธีดังต่อไปนี้
1. การสแกนไวรัส
    - สแกนไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดใช้งาน Flash Drive
    - สแกน Drive ทุกๆ Drive อย่างน้อยอาทิตย์ละ1 ครั้ง
    - ในการเสียบ Flash Drive ทุกครั้ง ห้าม Double Click โดยเด็ดขาด   เมื่อสแกนไวรัสแล้ว ให้คลิกขวาเลือก Open หรือ Explore

2. การลบไฟล์ขยะ (Temp files)
    Temp files เรียกได้ว่าเป็นไฟล์ ขยะที่เกิดจากการเปิดใช้งานมาก ไม่มีประโยชน์ใดๆทุกครั้งที่เปิดวินสโดวส์จะมีการสร้าง Temp files นามสกุล .tmp ขึ้นมาเรื่อยๆซึ่งวินโดวส์ก็ไม่ได้ใช้งานไฟล์ประเภทนี้อีก โดยปกติเมื่อเราใช้ windows ไปนานๆไฟล์ขยะต่างๆ หรือไฟล์ที่ระบบปฏิบัติการโหลดไว้เพื่อใช้งานชั่วคราว ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรจะมีการเคลียร์ Temp files เพื่อลดปริมาณขยะ ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ค่ะ ว่าแล้วก็มาลบไฟล์ขยะกันเลยดีกว่า เราเรียกวิธีการลบไฟล์ขยะนี้ว่า “Disk Cleanup” บางทีการทำ Disk Cleanup อาจทำให้เราได้พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสคืนกลับมา โดยที่ไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานเลยก็ได้
ขั้นตอนการทำ Disk Cleanup มีดังนี้
1. คลิกที่เมนู Start แล้วไปที่เมนู Program / Accessories / System Tools / คลิกที่เมนู Disk Cleanup
2. คลิกเลือกไดรฟ์ C: จากนั้นคลิกปุ่ม OK
3. ถึงตรงนี้ให้รอสักครู่ค่ะ ( ใครที่ไม่ได้ทำ Disk Cleanup มาก่อน อาจต้องรอนานหน่อยนะ )
4. ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการลบให้คลิกปุ่ม OK
5. คลิกปุ่ม Yes เพื่อยืนยัน
6. แสดงสถานะการลบไฟล์ขยะให้รอสักครู่จนกว่าหน้าต่างนี้จะหายไป
       หลังจากเสร็จสิ้นทั้ง 6 ขั้นตอนนี้แล้ว ให้ลองกลับไปตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสดูอีกครั้งตามที่ได้แนะนำไว้ เมื่อตอนต้นของบทความ เชื่อว่าน่าจะได้พื้นที่ว่างกลับมาอีกพอสมควรพื้นที่ว่างที่ได้กลับมาอาจทำ ให้บางคนไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานในเครื่อง โดยเฉพาะกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางท่านที่ไม่เคยทำ Disk Cleanup มาก่อน ก็จะได้พื้นที่ว่างกลับมาเยอะจนเราคาดไม่ถึงทีเดียว
*** หรือจะทำตามคำแนะนำการจัดการกับไฟล์ขยะ ในเมนู ไฟล์ขยะในเครื่องคอมพิวเตอร ที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วก็ได้ค่ะ
3. การใช้งาน Scan Disk   สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Scan Disk เลือก Properties
2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now…
3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วคลิก Start
4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk
5. เมื่อเครื่องทำการ Scan Disk เสร็จก็จะรายงานได้ทราบ ให้คลิก OKหมายเหตุ
หมายเหตุ   ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ
            Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
4. การ Defrag ฮาร์ดดิสก์   เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows XP
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Defragment เลือก Properties
2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Defragment Now...
3. คลิกที่ Defragment
4. จากนั้นให้รอ เครื่องจะทำการ Defragment ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน
5. เมื่อเครื่อง Defragment เสร็จเครื่องจะแจ้งให้ทราบถ้าต้องการดูรายละเอียดต่าง ๆ ของการ Defragment ให้คลิกที่ View Report ถ้าไม่ต้องการก็ให้คลิกที่ Close
หมายเหตุ  การทำ Defragment ให้ทำการ Disk Cleanup และ Scan Disk ก่อน ถ้าทำไม่ผ่านให้ทำใน Saft Mode
 

ขอบคุณที่มา : http://www.lampang.go.th/db_lap/mtn/hdd.html

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

(4)ไฟล์ขยะในเครื่องคอมพิวเตอร์

ไฟล์ขยะในเครื่องคอมพิวเตอร์
        ไฟล์ขยะ (Temp Files) คือ ไฟล์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ไฟล์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จากการทำงานของวินโดว์ เป็นไฟล์ที่เกิดจากการนำพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์มาใช้ เพื่อการประมวลชั่วคราว (Cookie Temp) และอีกส่วนหนึ่ง เกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต หรืออาจเกิดขึ้นตอนที่ติดตั้งโปรแกรม และยังรวมไปถึงไฟล์ที่เราลบไปไว้ในถังขยะ (Recycle Bin) อีกด้วย หลาย ๆ คนคงเคยสังเกตว่าทำไมไฟล์ใน Harddisk ของเราจึงมีขนาดใหญ่ขึ้นทั้ง ๆ ที่เราก็ไม่ได้ลงโปรแกรม หรือไปโหลดโปรแกรม อะไรมาเพิ่มเลย ที่มันเป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า เกิดไฟล์ขยะ (Temp files) ขึ้นเวลาที่เรา Preview หรือกระทำอะไรบางอย่างในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ก็จะมีไฟล์ขยะเกิดขึ้นมา จริง ๆ แล้วไม่จำเป็นต้องลบมันก็ได แต่จะปล่อยไปทำให้รก Harddisk เปล่าๆ ทำไม แน่นอนไฟล์ขยะเหล่าไม่มีประโยชน์ ยิ่งนานวันมันก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์เต็ม ซึ่งเมื่อเราเลิกใช้คอมพิวเตอร์ ไฟล์ขยะนั้นก็ไม่ได้หายไป แต่จะอยู่ในส่วนที่ระบบจัดไว้ ยิ่งนานเข้าๆ ก็ยิ่งมาก เมื่อมากขึ้นก็จะส่งผลให้เครื่องทำงานช้าลง แนะนำให้ลบดีกว่า ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ค่ะ ซึ่งจะแนะนำวิธีการลบไฟล์ขยะได้ ดังนี้
ลบไฟล์ขยะ (Temporary Files) ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
       วิธีลบง่ายๆ ทำตามขั้นตอนดังนี้
      1. ไปที่เมนู Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่ง %temp%
      2. ไปที่เมนู Edit แล้วเลือก Select All เพื่อเลือกไฟล์ทั้งหมด
      3. กดปุ่ม Shift + Delete เพื่อลบไฟล์ขยะเหล่านี้แบบถาวร  กด Yes เพื่อยืนยัน

      หากไฟล์บางตัวลบไม่ได้อาจจะเป็นเพราะยังถูกเรียกใช้โดยโปรแกรมตัวใด ตัวหนึ่งอยู่็เอาไว้ลบทีหลังได้ แนะนำให้ลบไฟล์ขยะหล่านี้ หลังจากเปิดเครื่องเข้าสู่วินโดวส์ใหม่ๆ เลยจะดีกว่าค่ะ
ล้างท่อ WinXP ลบข้อมูล prefetch เดือนละครั้
      Prefetch เป็นเทคนิคใหม่ที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของ Windows XP มาก อย่างไรก็ตาม หลังจากงาน Windows XP ไปนานๆ ไดเร็กทอรี prefetch จะเต็มไปด้วยขยะ และลิงค์ที่หมดอายุ ซึ่งส่งผลให้ระบบทำงานช้าลงจนสังเกตได้ชัด ในที่นี้ แนะนำให้จัดการลบไฟล์ขยะในไดเร็กทอรี Prefetch เดือนละครั้ง

      สำหรับที่อยู่ของไฟล์ขยะที่ว่าจะอยู่ใน C:\windows\prefetch งานง่ายๆ ของคุณก็คือ เข้าไปลบไฟล์ทั้งหมด ที่อยู่ในไดเร็กทอรีนี้ แล้วรีบู๊ตเครื่องก็จะพบว่าระบบทำงานเร็วขึ้นค่ะ
ลบไฟล์ขยะ หลังจากเลิกเล่นเน็ต ช่วยลดปัญหาไวรัสได
      เวลาเราเข้าเว็บไซต์ต่างๆ โปรแกรม IE ก็จะทำการ download ข้อมูลมาเก็บไว้ในเครื่องของเราก่อน จากนั้นถ้าเราเลิกเล่น ไฟล์เหล่านี้ก็จะค้างในเครื่องของเรา นอกจากปัญหาไฟล์ในเครื่องที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อที่ใน harddisk ของเราไม่เพียงพอแล้ว อาจมีไวรัสแอบแฝงเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ด้วย ดังนั้นวิธีการจัดการอย่างหนึ่งที่ง่ายก็คือ กำหนดให้โปรแกรม IE ลบไฟล์ขยะเหล่านี้อัตโนมัติทุกครั้งที่ปิดโปรแกรม สำหรับขั้นตอนก็สั้นๆ เพียงทำตามรายละเอียดข้างล่างนี้

      วิธีกำหนดให้ลบไฟล์ขยะจากอินเตอร์เน็ตแบบอัตโนมัติ (IE)

      
1. คลิกเมนู Tools
      2. เลือกคำสั่ง Internet Options
      3. คลิกเลือกแท็ป Advanced
      4. เลื่อนลงมาที่หัวข้อ Security
      5. จากนั้น คลิกหัวข้อ Empty Temporaly Internet Files Folder when browser is closed
      6. กดปุ่ม Apply อีกครั้งเพื่อยืนยัน

ข้อมูลเพิ่มเติม :ส่วนดีของการที่โปรแกรม IE มีการ download ไฟล์มาเก็บไว้ในเครื่องของเรา ทำให้การใช้งานในครั้งต่อไป สามารถเปิดดูรายละเอียดในเว็บนั้นๆได้เร็วขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการ download ซ้ำอีก
การลบไฟล์ขยะใน Tempolary Internet File

      ในบราวเซอร์ Internet Explorer
      1. ไปที่เมนู Tools / Internet Option /Temporary Internet file/ Setting / Viewfile / Select All / Delete
      2. ไปที่เมนู Tools / Delete browsing history แล้วคลิกปุ่ม delete ทุกปุ่ม จากนั้นก็ ok
       ในบราวเซอร์ Google Chrome
      1. คลิกที่ไอคอน chrome_clear_temp_1 หรือ customize and control  ด้านมุมบนขวาของหน้าต่าง
      2. Option หรือ Settings / คลิกที่แถบ Under the Hood หรือ คลิก Show advanced settings...(ด้านล่างสุด)
      3. เมนู Privacy คลิกปุ่ม Clear browsing data... / คลิกเลือกหัวเรื่องที่จะ clear หรือ delete / คลิกปุ่ม Clear browsing data ด้านล่าง
การใช้งาน Disk Cleanup  สำหรับลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจาก ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP
      โดยปกติ การใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ภายใต้ Windows จะเกิดไฟล์ขยะ (Temp file) ซึ่งเมื่อมีการใช้งานนานทุก ๆ วัน files เหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อที่ใน ฮาร์ดดิสก์ของคุณลดน้อยลง ลองทำตามขั้นตอนดังนี้

      1. คลิกเมนู Start เลือก Programs / Accessories / System Tools
      2. เลือก Disk Clenup (โปรแกรมช่วยลบขยะที่ไม่ใช้ให้อัตโนมัติ)
      3. เลือก drive ที่ต้องการลบขยะ
      4. กดปุ่ม OK โปรแกรมจะแสดงประเภทและจำนวนของ file ขยะที่สามารถลบได้
      5. ใส่เครื่องหมาย ถูก หน้าประเภทของ file ที่ต้องการลบ
      6. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการลบ

      หรือทำขั้นตอนลัด  เมนู start / run / พิมพ์คำว่า cleanmgr.exe แล้วกดปุ่ม enter แล้วจัดการ ล้างไฟล์ขยะที่เหลือให้หมดจากทุก Drive ที่คุณมีค่ะ
ตามล่าขยะด้วย Search
      แม้ว่า ขั้นตอนที่ผ่านมาจะเป็นการกำจัดขยะออกไปตลอดเวลาแล้วก็ตาม แต่เชื่อไหมว่ามันยังคงมีไฟล์ขยะที่ไม่จำเป็น หลบซ่อนอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ สำหรับไฟล์ขยะที่มีขนาดใหญ่นี้ เราจะค้นหาด้วย Search ของ Windows โดยคลิกปุ่ม Start เลือกคำสั่ง Search เลือก All files and folders จากนั้นคลิกปุ่มเครื่องหมายลูกศรชี้ลงที่อยู่ถัดจากออปชัน "What size is it?" คลิกเลือก Large ตามด้วยปุ่ม Search

      คุณอาจจะพบไฟล์วีดีโอ หรือไฟล์เพลงที่คุณเองก็ลืมไปแล้ว นอกจากนี้ยังอาจจะพบว่ามีไฟล์ข้อมูลเกมส์ต่างๆ ที่ไม่ได้เล่นนานแล้ว ถ้าชื่อไฟล์ที่พบไม่แน่ใจว่าเป็นไฟล์ที่ระบบใช้หรือไม่ ? แนะนำให้ลองค้นหาชื่อไฟล์ที่ไม่แน่ใจบนอินเตอร์เน็ตก็แล้วกันนะคะ
แนะนำ : โปรแกรม สำหรับการกำจัด สแกน และลบไฟล์ขยะภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เครื่องสามารถทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าเดิม เช่น โปรแกรม Disk Cleaner หรือ system Cleaner เป็นต้น


ขอบคุณที่มา : http://www.lampang.go.th/db_lap/mtn/junk.html

(3)วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

       ใครที่ไม่อยากให้คอมพิวเตอร์โดนไวรัสเล่นงาน... เรามีวิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาบอกครับ

ควร ติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด เพราะจะทำให้สามารถดักจับ และจัดการกับไวรัสตัวใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

อย่าตั้งค่าให้โปรแกรมอีเมลเปิดไฟล์ที่แนบมาโดยอัตโนมัติ ควรจะต้องตรวจสอบก่อนดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ขึ้นมา

สแกนไฟล์แนบท้ายของอีเมลทุกฉบับ หรือแม้แต่อีเมลจากคนรู้จัก

ตั้งค่าระบบป้องกันให้ทำงานทันทีที่เริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ใช้งาน

อัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส (Anti Virus) อย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรอัพเดททุกครั้งที่ออนไลน์ เพราะจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน

อย่าดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจได้ไวรัสแถมมาด้วย แต่หากต้องการดาวน์โหลดจริงๆ ก็ให้สร้างโฟลเดอร์เฉพาะไว้ต่างหาก และสแกนหาไวรัสก่อนเปิดใช้งาน

ควรสแกนแฟลชไดรฟ์ก่อนใช้งานทุกครั้ง เพราแฟลชไดรฟ์เป็นพาหะในการนำข้อมูลจากพีซีเครื่องหนึ่งมาใส่ในอีกเครื่อง


*** รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าไม่อยากให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส ลองนำวิธีที่แนะนำไปป้องกันไวรัสกันดีกว่าครับ
***

(2)ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 
 
1. ไวรัสตามวิธีการติดต่อ
ม้าโทรจัน ม้าโทรจัน (Trojan Horse)   เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมา ให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรม พร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบาย การใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจัน อาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์ เพื่อที่จะล้วงเอาความลับ ของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่า ไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดดๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่น เพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้น และนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

โพลีมอร์ฟิกไวรัส Polymorphic Viruses   เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัส ที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้ เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัส ที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้ เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
สทีลต์ไวรัส Stealth Viruses   เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถ ในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใด แล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตาม เพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น


2. ไวรัสตามลักษณะการทำงาน
ไฟล์ไวรัส File Viruses   คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในแฟ้มข้อมูล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแฟ้มข้อมูลแบบ Executite ได้แก่ไฟล์ประเภท .EXE .COM .DLL เป็นต้น การทำงานของไวรัสคือจะไปติดบริเวณ ท้ายแฟ้มข้อมูล แต่ จะมีการเขียนคำสั่งให้ไปทำงานที่ตัวไวรัสก่อน เสมอ เมื่อมีการ เปิดใช้แฟ้มข้อมูล ที่ติดไวรัส คอมพิวเตอร์ก็จะถูกสั่งให้ไปทำงานบริเวณ ส่วนที่เป็นไวรัสก่อน แล้วไวรัสก็จะฝังตัวเองอยู่ในหน่วยความจำเพื่อ ติดไปยังแฟ้มอื่นๆ ต่อไป
บูตเซกเตอร์ไวรัส Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses  คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การทำงานก็คือ เมื่อเราเปิดเครื่อง เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง ถ้าหากว่าบูตเซกเตอร์ ได้ติดไวรัส โปรแกรมที่เป็นไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย โปรแกรมไวรัสก็จะโหลดเข้าไปในเครื่อง และจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไวรัสประเภทนี้ มักจะติดกับแฟ้มข้อมูลด้วยเสมอ

3. ไวรัสตามลักษณะแฟ้มที่ติดไวรัส
มาโครไวรัส Macro Viruses    เป็นไวรัสรูปแบบหนึ่งที่ พบเห็นได้มากที่สุด และระบาดมาที่สุดในปัจจุบัน (เมษายน 2545) ซึ่งการทำงานจะอาศัยความสามารถ ในการใช้งานของ ภาษาวิชวลเบสิก ที่มีใน Microsoft Word ไวรัสชนิดนี้จะติดเฉพาะไฟล์เอกสารของ Word ซึ่งจะฝังตัวในแฟ้ม นามสกุล .doc .dot การทำงานของไวรัส จะทำการคัดลอกตัวเองไปยังไฟล์อื่นๆ ก่อให้เกิดความรำคาญในการทำงาน เช่นอาจจะทำให้เครื่องช้าลง ทำให้พิมพ์ของทางเครื่องพิมพ์ไม่ได้ หรือทำให้เครื่องหยุดการทำงานโดยไม่มีสาเหตุ
โปรแกรมไวรัส Program Viruses หรือ File Intector Viruses   เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง ที่จะติดกับไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ใน โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้ เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเอง เข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยน และยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม

     การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อน และจะถือโอกาสนี้ ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
 













ขอบคุณที่มา  http://www.lampang.go.th/db_lap/mtn/virus_i.html